Tenda Router Wireless Series
W309R+/ FH303+/FH303 / F3 / FH305 / N301 / N150
1. เริ่มต้นและการประยุกต์ใช้
โดยโหมดการทำงานของ FH303, FH305, N301, N150 จะถูกตั้งค่าเป็น Router Wireless Mode จากโรงงานมา ซึ่งถ้าเป็นการใช้งาน Internet ก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ แต่ถ้าต้องการที่จะแชร์ไฟล์, แชร์ Printer, ดูกล้อง DVR หรือ IP Camera การใช้ Mode Router Wireless อาจจะไม่เหมาะครับ เพราะ LAN จะถูกแบ่งออกเป็น 2 Subnet คือ วงของ Router ตัวหลัก และ วงใหม่ของ FH303, FH305, N301, N150
ตัวอย่างรูป แสดงพอร์ต WAN ที่ไม่ได้ใช้ ในโหมด Access Point สำหรับ FH305
ตัวอย่างรูป แสดงพอร์ต WAN ที่ไม่ได้ใช้ ในโหมด Access Point สำหรับ FH303
ตัวอย่างรูป แสดงพอร์ต WAN ที่ไม่ได้ใช้ ในโหมด Access Point สำหรับ N301 และ N150
ตัวอย่างรูปด้านล่าง แสดงการเชื่อมต่อกับระบบ TOT Wi-Net โดยแสดงผังของ IP Address ของ Computer หรืออุปกรณ์ที่ต่อจาก FH303, FH305, N301, N150 หลังจากที่เซตเป็น AP Mode แล้ว โดยตัวแจก IP Address ตัวหลักคือ CPE ของ TOT Wi-Net ครับ
ตัวอย่างรูป แสดง IP Address ของเครื่อง Client ที่เชื่อมต่อหลัง FH305, FH303, N301 และ N150 โหมด Access Point กับ TOT Wi-Net
ตัวอย่างรูปด้านล่าง แสดงการเชื่อมต่อกับระบบ Internet แบบ ADSL โดยแสดงผังของ IP Address ของ Computer หรืออุปกรณ์ที่ต่อจาก FH303, FH305, N301, N150 หลังจากที่เซตเป็น AP Mode แล้ว เครื่อง Computer ทั้งสาย LAN และ Wireless จะได้รับ IP Address ที่แจกจาก Modem Router ตัวหลัก ทำให้Computer ทุกเครื่องที่อยู่ในเน็ตเวิร์คนั้น เป็น Subnet หรือ วง LAN เดียวกันครับ
ตัวอย่างรูป แสดง IP Address ของเครื่อง Client ที่เชื่อมต่อหลัง FH305, FH303, N301 และ N150 โหมด Access Point
2. ก่อนตั้งค่า Access Point Mode
2.1 ตรวจสอบ IP Address ของ Modem Router หรือ วง LAN ต้นทางว่าเป็น วง LAN ที่ใช้ IP Address ชุดไหน เช่น 192.168.1.xxx หรือ 192.168.2.xxx เป็นต้น เพื่อจะได้เปลี่ยนค่า LAN IP ของ FH303, FH305, N150, N301 ให้อยู่ในวง LAN ต้นทางได้
ตัวอย่างที่ 1 : การตรวจสอบวง LAN จาก Modem Router ยี่ห้อ Zyxel จะเห็นว่าเป็น Subnet IP = 192.168.1.xxx
ตัวอย่างที่ 2 : อีกตัวอย่างในการตรวจสอบวง LAN จาก Router ของ BELKIN จะเป็น Subnet IP = 192.168.2.xxx
2.2 หลังจากทราบวง LAN ของตัวหลักเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็เป็นการหา IP Address ที่ว่าง สัก 1 IP Address เพื่อตั้งให้ FH303, FH305, N150, N301 ใช้ IP Address ที่ว่างนั้นครับ เช่น 192.168.1.254 หรือ 192.168.2.200 เป็นต้น โดยแนะนำให้เป็น IP Address ที่จำได้ง่าย เพราะอาจจะต้องใช้ในการเข้าไปตั้งค่าในครั้งต่อ ๆ ไปครับ
2.3 ถ้าเคยมีการตั้งค่า Router Wireless Mode อยู่ ให้ทำการ Reset ค่าอุปกรณ์ให้กลับเป็นค่าจากโรงงานก่อนครับ ด้วยการกดปุ่มด้านหลังตัวอุปกรณ์ ค้างไว้ประมาณ 15 วินาที แล้วปล่อยครับ
3. เริ่มต้นการตั้งค่า Access Point Mode
3.1 ในครั้งแรกนะครับ ให้เสียบสาย LAN จากช่องสีเหลืองของ FH303, FH305, N150, N301 เข้าช่อง LAN ของ Computer PC
** อย่าเพิ่งเอาสาย LAN จาก Modem Router มาเสียบที่ช่องเหลืองนะครับ
3.2 เปิด Browser เช่น IE, Chorme หรือ Firefox ขึ้นมา แล้วพิมพ์ http://192.168.0.1 ตรงช่อง Address แล้วกดปุ่ม Enter ครับ
3.3 แล้ว Enter จะมีหน้าขึ้นมาให้ Login ให้กรอกตรงช่อง Password เป็น admin ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด
3.4 จะเข้าหน้า Setup Wizard ของ FH303, FH305, N150, N301 ( เฉพาะโหมด Access Point นะครับ ) ให้ข้ามในส่วนของการเลือก Internet Connection Type เลยครับ และไปตั้งชื่อ Wireless หรือ SSID ให้กับตัว FH303, FH305, N150, N301 กับรหัสผ่าน Wireless ตามที่ต้องการ ( ตั้งรหัสผ่าน Wireless เป็นตัวเลขหรือตัวอักษร หรือผสมกันก็ได้ ขั้นตํ่า 8 ตัวครับ ) แล้วกดปุ่ม OK ( 3 ) ครับ
** ในบาง Firmware Version ของสินค้ารุ่น FH303, N150, N301 นั้น อาจจะไม่มีให้เปลี่ยนชื่อ SSID ให้ดูวิธีเปลี่ยน ตามหมายเหตุข้อ 4
3.5 จากนั้นจะมีหน้าต่างเล็ก ๆ แจ้งขึ้นมาประมาณว่า รหัสผ่าน Wireless ถูกเปลี่ยนใหม่แล้ว ให้กดปุ่ม OK ยืนยันอีกครั้งหนึ่ง
3.6 หลังจากนั้น หน้า Web จะวิ่งเข้ามาหน้าตั้งค่าขั้นสูงอัตโนมัติครับ ให้ทำการปิดฟังก์ชั่นการ แจก IP Address ของ FH303, FH305, N150, N301 ก่อน โดยคลิกที่เมนูหลักด้านบน Advanced ( 4 ) แล้วต่อด้วยเมนูด้านซ้าย DHCP Server ( 5 ) จะเข้ามาหน้าตั้งค่า ให้เอาเครื่องหมายถูกตรงช่อง Enable ออก ( 6 ) แล้วกดปุ่ม OK ( 7 ) ดังรูปตัวอย่าง
** หลังจากกดปุ่ม OK แล้ว ถ้าไม่สามารถคลิกเมนูอื่น ๆ ได้อีก ให้ผู้ใช้ไป Fix IP Address ของ Local Area Connection ตามหมายเหตุข้อ 2
กรณีที่หน้า Web ไม่ Auto วิ่งเข้าหน้า Advanced อัตโนมัติ ก็ให้ผู้ใช้เข้าหน้าตั้งค่าเอง โดยในหน้า Quick Setup ให้คลิกตรงบรรทัด Advanced Setting เพื่อเข้าสู่หน้าการตั้งค่าขั้นสูงครับ
3.7 ต่อไป ให้คลิกที่เมนูหลัก LAN Settings ( 8 ) แล้วเปลี่ยน IP Address ให้อยู่ในวง LAN เดียวกับวงหลัก ( 9 ) ( ดูหัวข้อการเตรียมตัวก่อนตั้งค่า Access Point Mode ข้อ 2 ) เสร็จแล้ว กด OK ( 10 )
รูปตัวอย่างแสดงการเปลี่ยน IP Address จาก 192.168.0.1 192.168.1.254 ให้เข้ากับวง LAN หลัก ที่เป็น 192.168.1.xxx ครับ
3.8 จะขึ้นหน้าต่างแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับผลของการเปลี่ยน IP Address ให้กดปุ่ม OK เพื่อยืนยัน และอุปกรณ์จะ Reboot ใหม่
3.9 รออุปกรณ์ Reboot ให้ครบ 100% ครับ
3.10 หลังจาก Reboot เสร็จแล้วก็ให้เอาสาย LAN จาก Modem Router หรือ Switch เสียบเข้าช่อง LAN สีเหลืองของ FH303, FH305, N150, N301 ได้เลยครับ ตามรูปตัวอย่าง
ตัวอย่างรูป แสดงการเชื่อมต่อแบบ Access Point Mode สำหรับ FH303, FH305
ตัวอย่างรูป แสดงการเชื่อมต่อแบบ Access Point Mode สำหรับ N301, N150
3.12 หลังจากนั้น ให้ทดสอบการเชื่อมต่อ Wireless หรือทางสาย LAN กับ FH303, FH305, N150, N301 เพื่อตรวจสอบ IP Address ของเครื่อง Computer โดยขั้นตอนการตรงสอบ ให้ไปที่ Local Area Connection Status Tab Support ( สำหรับ Windows XP ) หรือ Local Area Connection Detail ( สำหรับ Windows Vista, 7 ) เพื่อดูว่าได้รับ IP Address มาหรือยัง ถ้าได้รับ IP Address จาก Router มาเหมือนตัวอย่าง ก็แปลว่าสามารถทำ Access Point Mode สมบูรณ์ เรียบร้อยแล้ว
**กรณีที่ยังไม่ได้รับ IP Address Auto ก็ให้ผู้ใช้ลองทำการ ปิด และ เปิด อุปกรณ์ FH303, FH305, N150, N301 อีกครั้งครับ
หมายเหตุ 1 : กรณีที่ IP Address ของวงหลักเป็น 192.168.0.xxx :
กรณีนี้ให้ผู้ใช้เปลี่ยนแค่ ตัวเลข ตัวสุดท้าย ที่เป็นหมายเลข IP โดยอาจจะเป็น IP ที่ยังว่างอยู่ หรือยังไม่มีเครื่องไหนใช้ เพื่อไม่ให้ IP Address ของ FH303, FH305, N150, N301 ไปชนกันกับ Modem Router หรือ อุปกรณ์อื่นในระบบ Network ครับ
** สำหรับ Subnet Mask นั้น ให้อ้างอิง 255.255.255.0 นะครับ ไม่ว่าองค์กร หรือ บริษัท นั้น ๆ จะใช้ Subnet Mask แบบอื่น ก็ตามครับ เพราะว่า FH303, FH305, N150, N301 ไม่ได้มีผลต่อการออกเน็ตใด ๆ ครับ
หมายเหตุ 2 : กรณีที่กด ปิด DHCP Server แล้วไม่สามารถเข้าหน้าตั้งค่า หรือ คลิกเมนูไหนได้
ปัญหานี้เป็นจากหลังปิด DHCP แล้ว FH303, FH305, N150, N301 ก็ไม่ได้จ่าย IP Address ให้กับเครื่อง Computer ทำให้เครื่อง Computer ไม่ได้รับ IP Address จึงทำให้ไม่สามารถเซตตั้งค่าต่อได้ครับ ตรงนี้ ต้องแก้ด้วยการ Fix IP ให้กับเครื่อง Computer ดังนี้
- คลิกปุ่ม Start ของ Windows ไปที่ เมนู Control Panel ต่อด้วยดับเบิ้ลคลิก ไอคอน Network Connection ( สำหรับ XP )
- สำหรับ Windows 7 ให้คลิกที่ Network and Sharing Center แล้วคลิก เมนูด้านซ้ายตรง Change Adapter Setting
- หลังจากเข้าหน้า Network Connection ได้แล้วให้คลิกขวาที่ไอคอน Local Area Connection แล้วเลือก Properties
- จะเข้ามาหน้า Loacal Area Connection Properties ก็ให้คลิกบรรทัด Internet Protocol Version 4 ( TCP/Ipv4 ) เลือก Properties แล้วเลือกเป็น “ Use the following IP address : “ แล้วกรอกค่า IP Address ตามรูปตัวอย่างครับ ( หรือจะต่างจากตัวอย่างก็ได้ครับ ขอให้ตัวสุดท้ายเป็นเลข ตั้งแต่ 2 - 254 ) กรอก IP เสร็จแล้ว คลิกบรรทัด Subnet Mask ก็จะมี หมายเลขขึ้นมาเองครับ แล้วกดปุ่ม OK เสร็จแล้วให้กดปุ่ม OK ซํ้า และสุดท้ายกดปุ่ม Close ครับ
หมายเหตุ 3 : กรณียกเลิกการ Fix IP Address ของ Local Area Connection
หลังจากตั้งค่า FH303, FH305, N150, N301 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้ใช้กลับเข้ามาหน้า Internet Protocol Version 4 properties เพื่อเลือกให้ LAN ของเครื่อง Computer รับ IP Addres Auto เหมือนเดิม โดยเลือก “ Obtain an IP address …. “ แล้ว กดปุ่ม OK เสร็จแล้ว OK ซํ้า แล้ว กด Close
หมายเหตุ 4 : กรณีเปลี่ยนชื่อ SSID สำหรับ FH303, N150 และ N301 บาง Firmware Version
โดยปรกติแล้ว การเปลี่ยนชื่อ SSID หรือชื่อ Wireless นั้น จะสามารถเปลี่ยนได้จากหน้า Quick Setup หน้าแรก แต่ถ้าในบางครั้ง อุปกรณ์ รุ่นที่ใช้ ไม่มีให้เปลี่ยน ชื่อ SSID ในหน้า Quick Setup ดังรูป
ให้เข้ามาหน้า Advanced แล้วไปที่เมนูหลักด้านบน Wireless ต่อด้วยเมนูด้านซ้าย Wireless Basic Settings แล้วเปลี่ยนชื่อ SSID ของตัว Tenda ที่ต้องการในช่อง Primary SSID ครับ เสร็จแล้วกดปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จขึ้น ขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อ SSID แล้วครับ
**************** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่เบอร์ 02-3123641 – 6 ( 6 คู่สายอัตโนมัติ ), 086-3697855 *****************